รวมเรื่อง ที่ “ต้องรู้” สำหรับคนที่จะเตรียมตัวสอบเข้าสถาปัตยกรรม
ทั้งเรื่องสอบ เรื่องฝึก และเรื่อง ฯลฯ ซึ่งจะทยอยอัพเดทไปตลอด จนหมดเรื่องเขียนครับ
รวมเรื่อง ที่ “ต้องรู้” สำหรับคนที่จะเตรียมตัวสอบเข้าสถาปัตยกรรม
ทั้งเรื่องสอบ เรื่องฝึก และเรื่อง ฯลฯ ซึ่งจะทยอยอัพเดทไปตลอด จนหมดเรื่องเขียนครับ
Share วันนี้ พี่ๆจะมาอัพเดทกันว่า…..สถาปัตย์ ที่ไหน ไม่ได้ใช้ “PORTFOLIO” บ้าง แต่ต้องขอเกริ่นก่อนนะครับ สำหรับน้องๆและผู้ปกครองที่ยังไม่ทราบว่า “PORTFOLIO” (พอร์ทโฟลิโอ) ด้านสถาปัตย์ คืออะไรและต้องมีอะไรบ้าง (เดี๋ยวจะเล่าละเอียดขึ้นแยกเป็นอีกตอนนึงไปเลย) ก็จะขอเล่าให้ฟังคร่าวๆนะครับว่ามันคือ……..แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงตัวตนว่าน้องคนนั้น พร้อมที่จะเรียนสถาปัตยกรรม-ออกแบบ ดังนั้น เนื้อหาในแฟ้ม จะต้องโฟกัสไปที่ ผลงานด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถ และทักษะด้านสถาปัตยกรรม ส่วนผลงานด้านกิจกรรมต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้อง มีได้ครับ แต่ไม่ต้องเยอะมากครับ ในระบบ TCAS ในรอบการรับที่ 1 และ 2 ส่วนมาก จะให้ผู้สอบส่งแฟ้มสะสมผลงานเหล่านี้ และก็มีบางโรงเรียน สั่งให้นักเรียนทำแฟ้มสะสมตั้งแต่ ม.5 ซึ่งจริงๆแล้ว สามารถไปทำตอน 3-4 เดือน ก่อนส่งก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องมีผลงาน มามากพอสมควรแล้ว ส่วน TCAS ในรอบการรับที่ 3 จะไม่ได้ใช้แฟ้มสะสมผลงานเป็นเกณฑ์ในการรับเข้าซึ่ง ก็เป็นข้อดี สำหรับน้องๆที่ชอบระบบการสอบอย่างเดียว ดังนั้น เรามาดูกันว่า…..ในปี 61 …
Shareบทความ : เจาะลึก TCAS สถาปัตย์ รอบที่ 1 ปี 60 EP.1 โดย พี่ยอด ต้องเข้าใจก่อนว่า ระบบ “TCAS” (ทีแคส) ไม่ใช่การสอบแบบใหม่ แต่เป็นเพียง “การจัดระเบียบ” ของการรับตรงของทุกๆมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งแต่เดิมที มีการรับกันอย่างอิสระ ไม่กำหนดช่วงระยะเวลา มีทั้งใช้ Portfolio บ้าง มีทั้งใช้คะแนนสอบบ้าง ฯลฯ โดยระบบ TCAS นั้นจะเข้ามาจัดระเบียบ และป้องกันการรักษาสิทธิ์ที่นั่งเรียนเกินกว่า 1 ที่ กล่าวคือ ถ้าเราสอบติด แล้วเราต้องตัดสินใจเลยว่าจะเอาเลย หรือจะสละสิทธิ์ ในช่วงเวลาที่กำหนด เริ่มมีการใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2560 (ปีการศึกษา 2561) ในปีแรกนี้ เพื่อความง่ายในการเข้าใจในระบบนี้ ซึ่งพี่จะขอเล่าคร่าวๆเป็น INFO GRAPHIC ง่ายๆดังภาพนี้ น้องๆที่จะเตรียมตัวเข้าลาดกระบัง หรือเตรียม PAT4 และทำ PORTFOLIO คอร์สของเราครอบคลุมหมด …
Shareครั้งนี้….เป็นตอนพิเศษ ว่าด้วยเรื่อง “การออกแบบภายใน กับ สถาปัตยกรรมภายใน” ซึ่งคาบเกี่ยวกับบทความ “จะเรียนสถาปัตย์ต้องรู้ กับ จะเรียนออกแบบต้องรู้ ” ก็เลยจะลง Link ทั้ง 2 บทความเลยละกันครับ 12 ปีที่ผ่านมา หนึ่งคำถามที่ได้รับการถามมากที่สุดคือ………. “สถาปัตยกรรมภายใน กับ คณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบภายใน ต่างกันอย่างไร” “วิชาการสอบเหมือนกันไหม” “ทำงานเหมือนกันเลยไหมหลังจบ” “สอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกได้ไหม เพราะอยากออกแบบบ้านด้วย” ถ้างั้น เรามาดูสรุป กันเลยดีกว่า……ว่า • ระยะเวลาที่ใช้ศึกษา • ระบบการรับการสอบ • สายการศึกษาที่รับ • เข้าไปมีต้องเรียนคณิตวิทย์ไหม กรณีที่เราสอบติด • เตรียมตัวยังไงในการสอบ ต้องติวอะไรบ้าง ———————————————————————————————————————————- ดูตารางเลยครับ [กดที่ภาพเพื่อขยายได้] ———————————————————————————————————————————- 1. ระยะเวลาการเรียน • สถาปัตยกรรมภายใน 5 ปี • มัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน …
Share ข้อมูลอ้างอิงจาก http://tcas61.cupt.net/information.php อัพเดตเมื่อ 1/6/60 #tcas61 #admission #สอบตรงสถาปัตยกรรม #ติวสถาปัตย์จุฬาฯ #ติวสถาปัตย์ลาดกระบัง #ติวสอบตรงสถาปัตย์ศิลปากร #ติวINDA #ติวCOMMDE #ติวPAT4 #ความถนัดทางสถาปัตยกรม
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด แต่เรื่องที่ต้องรู้ก็มีเยอะแยะไปหมด ครั้นจะเล่าให้ฟังให้จบภายในครั้งเดียว ก็คงต้องพิมพ์ยืดยาวเป็นนิยาย งั้นพี่ก็จะขอเล่าให้ฟังตั้งแต่เรื่องที่ตื้นๆ และค่อยๆลึกเข้าไปเรื่อยๆละกัน เรื่องแรกที่ตื้นๆที่เราจะต้องรู้ คือ ….. “ระบบการรับ” สถาปัตย์ มีวิธีการสอบกี่แบบ? (ระบบการรับเข้าศึกษา) จากประสบการณ์ในการสอน 13 ปี และข้อมูลล่าสุด (59) พี่สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังต่อไปนี้ 1. ระบบรับแอดมิดชั่น หรือในอดีตเรียกว่า เอนทรานซ์ ปัจจุบัน จะทำการยื่นสมัครเพื่อคัดเลือกคณะที่ต้องการเข้า ในช่วงเดือนเมษายน ในระบบนี้ เป็น “ระบบการสอบที่น้องๆไม่อยากยุ่งที่สุด” เพราะสนามสอบนี้เป็นสนามสอบสุดท้ายแล้ว ส่วนมากน้องๆจะต้องการสอบติดแบบ “รับตรง” ไปก่อน เพราะไม่อยากเสียเวลายาวนานในการลุ้น ระบบนี้จะใช้องค์ประกอบวิชาดังนี้ • PAT4 (40%) ** ความถนัดทางสถาปัตยกรรม • GAT (10%) …
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด สำหรับคำถาม “ยอดฮิต” ที่ได้รับการปรึกษาตลอดช่วง 10 ปีมานี้ หนึ่งในคำถามยอดนิยมนั่นก็คือ “จะเข้าสถาปัตย์ ม.4 ควรเลือกเรียนสายอะไร?” “สถาปัตย์ รับเฉพาะสายวิทย์หรือไม่?” “ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา อยากเข้าสถาปัตย์ ต้องทำอย่างไรบ้าง” พี่จะสรุป โดยนำเอาเกณฑ์การ “รับเข้า” ที่ “อัพเดท” (59) มาสรุปย่อให้ฟังดังนี้ครับ 1. ระบบแอดมิดชั่นกลาง หรือระบบเอนทรานซ์ (เดิม) ระบบนี้ “ทุกสายการศึกษา มีสิทธิ์ผ่านเข้าไปเรียนทุกคน” ถ้าคะแนนรวมถึง เพราะระบบนี้ ไม่สามารถห้ามผู้สมัครได้ แต่ทั้งนี้ แต่ละมหาวิทยาลัย อาจระบุไว้ในคู่มือการรับ ซึ่งปัจจุบัน แทบไม่มีที่ไหนระบุคุณสมบัติว่าต้องเรียน สายวิทย์-คณิต เท่านั้นแล้ว ดังนั้น หากน้องๆ ศึกษาอยู่ ไม่ว่าจะสายอะไรยังไงก็ตาม ก็ให้…รู้ไว้ได้เลยว่า “ระบบแอดมิดชั่น …
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด ในภาคนี้ จะว่าด้วยเรื่อง “รับตรงแต่ละที่ใช้เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่” สำหรับการสอบสถาปัตย์ ในระบบแอดมิดชั่น เรารู้ไปแล้ว ว่าไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำในการรับ ใครได้เกรดเท่าไหร่ ก็ให้เอาไปคิดเป็นคะแนน 4.00=20% แล้วค่อยเอาไปรวมกับโอเนต GAT และ PAT4 แต่ในระบบรับตรง เค้าจะมีการประกาศมาเลยว่า เกรดเท่าไหร่มีสิทธิ์สอบ ในที่นี่ พี่ขอยกเฉพาะคณะที่ยอดฮิต หรือเป็นคณะที่น้องๆถามกันมามากให้ฟังแบบย่อๆ แต่ครบเครื่องนะครับ อันนี้จะอิงตามเกณฑ์ปีการศึกษา 59 นะครับ คณะที่รับตรงโดยกำหนดเกรดขั้นต่ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ • ระบบ การรับตรงปกติ [ฟิสิกส์ คณิต อังกฤษ ของ 9 วิชาฯ + PAT4] สถาปัตยกรรม / สถาปัตยกรรมภายใน / ภูมิสถาปัตยกรรม / สถาปัตยกรรมผังเมือง …
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด **** ในปีการศึกษา 60 นี้ ระบบการรับยังเป็นแบบที่กล่าวมาด้านล่าง แต่ในปี 61 อาจจะมีการคงของเดิมไว้บ้าง แต่มีการ “เลื่อน” เวลาการรับออกไปตามที่ สทศ และหลายๆหน่วยงาน จะกำหนด **** เรามาพูดถึง “วิชา” และ “สัดส่วนค่าน้ำหนัก” ที่ใช้สอบ ในการสอบแอดมิดชั่น และการสอบตรงดีกว่า ในเรื่องการสอบแอดมิดชั่นนั้น ไม่ยาก เพราะ % ค่าน้ำหนัก และสัดส่วน เหมือนกันทุกมหาวิทยาลัย คงมีบางที่ ที่กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ เช่น บางมด กำหนดภาษาอังกฤษ ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 เป็นต้น หรือ บางที่ ไม่มีแอดมิดชั่น เช่น ลาดกระบัง คณะสถาปัตย์ ทุกภาควิชา …
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด คำถาม ที่ ผู้ปกครอง และ น้องๆ จะถามอีกคำถามหนึ่ง ซึ่งเป็นคำถามยอดฮิต เข้าข่าย “ถามง่าย” “ตอบง่าย” แต่ “อธิบายได้ยาก” นั่นก็คือ • ที่ไหน เข้าง่ายที่สุด ในบรรดารับตรง • ที่ไหน เข้ายากที่สุด ในบรรดาการรับตรง ส่วนตัว อยากพูดรวมๆว่า • “ไม่มีที่ไหนที่เข้าง่ายที่สุด และไม่มีที่ไหนที่เข้ายากที่สุด” เพราะจากประสบการณ์ในการสอนมาร่วม 13 ปี ก็พบว่า…… ในขณะที่น้องคนหนึ่ง อาจสอบติดมหาวิทยาลัย B C D แต่อาจสอบไม่ติดมหาวิทยาลัย A หรือบางคนสอบติดมหาวิทยาลัย A แต่ที่เหลือคือ B C D อาจไม่ติดเลยก็ได้………เพราะอะไร?……….เรามาดูกัน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างมาเป็นตาราง …
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด มีอีกหนึ่งทางเลือก ที่น่าสนใจ สำหรับน้องๆที่ต้องการเรียนคณะสถาปัตยกรรม ที่ใช้หลักสูตรนานาชาติสอน ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เปิดสอนหลักสูตรฯดังกล่าว ประกอบไปด้วย 1. มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี www.arch.kmutt.ac.th เปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2534 (1994) โดยเป็นสอนเป็น “หลักสูตรนานาชาติทั้งคณะ” มี 4 หลักสูตร • สถาปัตยกรรม หลักสูตร 5 ปี • สถาปัตยกรรมภายใน หลักสูตร 5 ปี • ออกแบบอุตสาหกรรม หลักสูตร 4 ปี • การออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตร 4 ปี เพียงแต่ในวันนี้เราจะยังไม่พูดถึง นิเทศศิลป์ เพราะจะแยกอยู่ในบทความ “จะเป็นเด็กออกแบบ ต้องรู้” ————————————————————————————————————————————- 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.cuinda.com …
Shareสำหรับน้องๆ ที่ “สนใจ” และต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีเรื่องที่น้องๆ “ต้องรู้” อยู่หลายๆเรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสให้กับน้องในการสอบติด เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่น้องๆ จะต้องทราบนั้นก็คือ แต่ละมหาวิทยาลัย ที่มีคณะสถาปัตยกรรม มีภาควิชา หรือสาขาวิชาอะไรบ้าง เรามาไล่เรียงกันเลยดีกว่าครับ ขอเล่าเฉพาะ อันที่มีคนถามถึงก่อนนะครับ ทั้ง กรุงเทพ และ ต่างจังหวัด —————————————————————————————————————————— ** จริงๆ คณะสถาปัตย์ ที่สอนโดยสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีเยอะแยะมากมาย แต่ในวันนี้ ขอยกตัวอย่างเฉพาะที่น้องๆเคยสอบถามมา และจากประสบการณ์การติวมามากกว่า 12ปี น้องมักจะเลือกมหาลัยเหล่านี้ ** —————————————————————————————————————————— หรือจะดูตารางไปเลยก็ง่ายดี แล้วค่อยลงไปอ่านรายละเอียด ** กดรูปเพื่อขยาย ** —————————————————————————————————————————— 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่เปิดสอนดังนี้ 1.1. สถาปัตยกรรม 1.2. สถาปัตยกรรมภายใน 1.3. ภูมิสถาปัตยกรรม 1.4. สถาปัตยกรรมผังเมือง …