พี่อิ๊งค์(ก้า) / ศิษย์เก่า : ราชินีบน
ส.ถ. จุฬาฯ
สนามอื่นๆที่สอบติด
- ส.ถ. ไทย จุฬาฯ (รับ 15 คน)
- ส.ถ. ศิลปากร
เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น อย่าคิดว่าการบ้านพี่ยอดไม่สำคัญ
ทำส่งแบบลวกๆหรือทิ้งๆขว้างๆ การบ้านนี่แหละ เป็นหนึ่งในตัวส่งเสริมที่ช่วยฝึกฝนฝีมือเราได้มาก
แล้วก็อย่าบ่นด้วยว่าเพราะงานที่โรงเรียนเยอะ มีงานกีฬาสี การบ้าน กิจกรรม บลาๆๆ
ถ้าแบ่งเวลาดีๆมันก็เคลียร์งานได้ทั้งนั้น อาจจะต้องยอมนอนดึกๆหลังเที่ยงคืน
ตีหนึ่ง ตีสองบ้าง แต่เข้าไปเรียนแล้วจะนอนดึกบ่อยกว่านี้มากๆ เพราะฉะนั้นแค่นี้ก็ต้องทนได้สิ
• การแบ่งเวลาวิชาการ – เรียนแต่พอเหมาะสม ไม่ต้องเรียนเคมีก็ได้ เปลืองเวลา …….
เจอมากับตัวแล้ว เพราะถาปัตย์ถ้าจะใช้เคมีก็แค่ Pat2 อย่างเดียว
แล้วข้อสอบมันก็โครตยาก เอาเวลาไปลงแค่เลขกับฟิสิกส์ หรืออังกฤษจะคุ้มกว่า
เวลาปิดเทอมอาจจะเรียนเป็นคอร์สๆเวลาตายตัวก็จริง แต่เปิดเทอมชอบเรียนวิชาการแบบเรียน self มากกว่าง่ายดี
เพราะบางทีกิจกรรมโรงเรียนเยอะ มีงานนู่นงานนี่ ต้องไปช่วยงาน รร. งานกลุ่มช่วงวันเสาร์-อาทิตย์บ้าง ฯลฯ
ถ้าขาดเรียนไปมันไม่คุ้มแถมพอถ้าใกล้สอบอะไร เราก็หยุดได้เอง กะเวลาได้เอง
จัดตารางเตรียมสอบอ่านหนังสือเตรียมตัวได้เองด้วย เพราะส่วนตัวสุดท้ายแล้ว
คิดว่ามาอ่านสรุปทำความเข้าใจเองเวิร์คกว่า เวลาไปเรียนบางทีสมองมันฟุ้งซ่าน ตามไม่ทัน ล่องลอย ง่วง ฯลฯ
ปล.ส่วนชีวะนี่ไม่ต้องบ้าจี้เรียนตามเพื่อน เพื่อนชวนไม่ต้องตาม อ่านแค่
พี่เต็นท์เล่มแดงหรือน้ำเงินเล่มเดียวก็เอาอยู่แล้ว พูดตรงๆ อ่านให้แม่นๆด้วยล่ะ ชีวะนี่ตัวเก็บคะแนนได้เยอะเลย
……………………………………………………………………………………………….
• การแบ่งเวลาเรียนสถาปัตย์ – ส่วนตัวชอบลงเรียนตอนบ่ายสอง ในตอนปิดเทอม
ตอนเช้าจะลงพวกวิชาการได้ มีเวลากินข้าวชม.นึง แล้วมาเรียนพี่ยอดได้พอดี
แล้วก็เลิกแค่ประมาณ 5 โมงกว่าๆ ไม่เหนื่อยมาก กลับบ้านไปพักผ่อนสบายๆ
ส่วนช่วงเปิดเทอมที่เหลือเรียนแค่อาทิตย์ละครั้งนั้น ส่วนตัวก็เรียนวันเสาร์เหมือนเดิมนั่นแหละ
วันอาทิตย์ไปเก็บพวกวิชาการที่เหลือๆ+เคลียร์งานรร.+พักผ่อน ไปเที่ยวสบายใจ
……………………………………………………………………………………………….
• การอ่านหนังสือความถนัดฯ – เน้นอ่านชีทของพี่ยอด ไฮไลต์ส่วนที่สำคัญ
เน้นอ่านพวกเกี่ยวกับ สภาพอากาศ ลมผ่านยังไง ต้นไม้แค่คร่าวๆ ก็พอ
และก็ประวัติศาสตร์ศิลป์นี่ โดยเฉพาะพวกส่วนประกอบบ้านเรือนไทยต้องจำให้แม่นๆ
เพราะชอบออกเป็นประจำ (ข้อสอบ สอบตรง)
(อันนี้มันตายตัวด้วย ตอบปุ๊ปถูกชัวร์ บางทีลม+ต้นไม้มันออกมาแนวประยุกต์เล็กๆ บางทีอาจจะผิดได้ !)
มีเวลาก็อย่าลืมหาพวกเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้าง+วัสดุเพิ่มเติม
อ้อ ถ้ามีเวลาอีกก็อย่าลืมช็อตโน๊ตสรุปออกมาด้วย
……………………………………………………………………………………………….
• การฝึก การทำการบ้าน – ส่วนตัวที่เรียนบ่ายสองอีกเหตุผลนึงคือตื่นขึ้นมา
ปั่นการบ้านถาปัตย์ตอนเช้า(!?) 555+ มันจะมีความรู้สึกไฟลนก้นดีแปลกๆ เหมือนกับว่า
มันจะส่งแล้วนะ ต้องทำให้เสร็จประมาณนี้ จริงๆเป็นเหมือนการจำกัดเวลาตัวเองดีด้วย
ถ้าทำเสร็จครบหมด(แบบมี 3-4 อย่าง)ก็ถือว่าเราค่อนข้างเริ่มเร็วแล้ว
ส่วนเรื่องฝึกนั้น หมั่นเอาชีทสมัยเรียนเบสิกมาดูบ่อยๆ มันมีอะไรอยู่ในตัวมันเองเยอะนะ
อย่างเช่นพวกรถเนี่ย ถ้าวาดแม่นๆมันจะเป็นประโยชน์มากเลย
แล้วก็หาตึกที่ตัวเองจะประยุกต์ใช้ในการวาดตีฟได้ตลอด จะได้ไม่ต้องคิดรายละเอียดมากเวลาทำ
ส่วนคนนี่สำคัญสุด ใครคนไม่แม่นต้องฝึกเยอะๆจริงๆด้วย !!
อีกอย่างถ้าใครจะสอบถาปัตย์ไทย ดูแบบวัดที่อยู่แถวบ้านตัวเอง แล้วหมั่นหัดวาดออกมาบ่อยๆ แค่นี้ก็ฉลุยแล้ว
………………………………………………………………………………………………..
• การแบ่งเวลาทำกิจกรรมส่วนตัว – ก็หลังเรียนพี่ยอดเสร็จ กลับบ้านมาก็ชิวไปเหอะ
ถือว่าเราใช้ความคิดมาทั้งวันแล้ว ชิวเลยๆ สมองปลอดโปร่ง แต่ถ้าช่วงใกล้สอบ(มากๆ)
แนะนำให้พักเป็นช่วงๆ คืออ่านให้จบซักเรื่องนึง (ประมาณ 3 ชม.ได้)
แล้วค่อยไปพักกินหนมเล่นคอมซักรอบ ไม่ใช่แบบอ่านค้างๆคาๆ แล้วไปเล่นคอม
ไปดูหนังดูการ์ตูน อะไรแบบนี้ไม่เอา ไม่มีสมาธิ สติฟุ้งซ่าน อดทนไว้ๆ แล้วทุกอย่างจะดีเอง
แต่ไอแบบตะลอนอ่านติดกันทั้งวันทั้งคืนอันนี้ก็ไม่ไหว ไม่ทำเด็ดขาดยกเว้นจวนตัว
อ้อ พอใกล้ๆสอบมีเวลาก็เอาข้อสอบถาปัตย์เก่าๆมาทำจับเวลาตัวเองด้วย ดูว่าทำทันมั้ย
แต่ทำแค่ซักรอบ-สองรอบ เอาให้พอมั่นใจในสปีดตัวเองก็พอ
เพราะเราฝึกมากับพี่ยอดอย่างเพียงพอแล้ว สปีดมันควรจะอยู่ตัวได้แล้ว
……………………………………………………………………………………………….
• แง่คิด ในการเตรียมตัวสอบเข้า – เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น อย่าคิดว่าการบ้านพี่ยอดไม่สำคัญ
ทำส่งแบบลวกๆหรือทิ้งๆขว้างๆ การบ้านนี่แหละ เป็นหนึ่งในตัวส่งเสริมที่ช่วยฝึกฝนฝีมือเราได้มาก
แล้วก็อย่าบ่นด้วยว่าเพราะงานที่โรงเรียนเยอะ มีงานกีฬาสี การบ้าน กิจกรรม บลาๆๆ
ถ้าแบ่งเวลาดีๆมันก็เคลียร์งานได้ทั้งนั้น อาจจะต้องยอมนอนดึกๆหลังเที่ยงคืน
ตีหนึ่ง ตีสองบ้าง แต่เข้าไปเรียนแล้วจะนอนดึกบ่อยกว่านี้มากๆ เพราะฉะนั้นแค่นี้ก็ต้องทนได้สิ
แล้วก็วิชาการนี่สำคัญมาก ห้ามทิ้งเด็ดขาด ทุ่มเทกับมันให้เต็มที่ เพราะไม่ว่าจะจุฬาหรือที่ไหนๆก็สำคัญ…
แต่โดยเฉพาะที่ศิลปากรนี่ ตัดคนเข้าได้เข้าไม่ได้ นี่แทบดูกันที่วิชาการเลยทีเดียว
ฟิสิกส์-เลขใครไม่ผ่าน 25 คะแนนนี่เป็นอันจบกัน
……………………………………………………………………………………………….
พี่อิ๊งค์ นี่เรียนมานานมากแล้ว มาตั้งแต่ ม.4 ขึ้น ม.5 แล้ว……. พี่อิ๊งค์เป็นคนขยัน ไม่เบี้ยวส่งการบ้าน
และมีงานที่นอกเหนือจากที่ให่้ทำมาให้ดูเป็นบางครั้ง
สำหรับ พี่อิ๊งค์ ก็เขียนเมล์นี่ส่งมาให้น้องๆดู เพื่อจะได้มีกำลังใจในการฝึกฝนมากขึ้น
yod artstu